Power by Dektajoy

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะตะวันออก_ขอม



ศิลปะขอม
            ศิลปะขอม  ได้แก่ ศิลปะในประเทศกัมพูชาและดินแดนใกล้เคียง  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘  ศิลปะขอมนับเป็นศิลปะอินเดีย  ในระยะแรกมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก  แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง  สถาปัตยกรรมขอมได้เจริญขึ้น   โดยมีระเบียบและความงามชนิดที่ไม่เคยปรากฎในศิลปะอินเดียมาก่อน  ลวดลายเครื่องประดับของขอมก็ได้แสดงถึงการตกแต่งอย่างมากมาย และไม่นิยมเน้นพื้นที่ให้ว่างเปล่า   แต่ในขณะเดียวกันองค์ประกอบของภาพโดยรวมก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้เสมอ    ประติมากรรมขอมได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งกระด้างปนอำนาจชนิดหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันในประเทศอินเดีย  และยังมีการสร้างภาพประติมากรรมให้มีอารมณ์ยิ้มอยู่ด้วย ดังเช่นภาพประติมากรรมที่เมืองพระนคร (Angkor  Thom) ในศิลปะแบบบายน  อาจกล่าวได้ว่า  ประติมากรรมขอมแสดงออกถึงความรู้สึกเร้นลับ ลึกซึ้งอย่างแท้จริง  วิวัฒนาการของศิลปะขอมโดยเฉพาะสถาปัตยกรรมมีการสืบเนื่องติดต่อกันอย่างเห็นได้ชัดหลายสมัย  ดังนี้
๑.      สมัยพนมดา  (Phnom  Da)                           ๘.  สมัยเกาะแกร์  (Koh  Ker)
๒.    สมัยสมโบร์ไพรกุก  (Sambor  Prie kuk)      ๙.  สมัยแปรรูป  (Pre  Rup)
๓.     สมัยไพรกเมง  (Prei  Kmeng)                       ๑๐. สมัยบันทายสรี  (Banteay  Srei)
๔.     สมัยกำพงพระ  (Kampong  Prah)                 ๑๑. สมัยคลัง  (Khleang)
๕.     สมัยกุเลน  (Kulen)                                        ๑๒. สมัยบาปวน  (Baphuon)                
๖.      สมัยพระโค  (Preah  Ko)                               ๑๓.  สมัยนครวัด  (Angkor  Wat)
๗.     สมัยบาแค็ง  (Bakheng)                                 ๑๔.  สมัยบายน  (Bayon)
เพื่อให้เข้าใจศิลปะขอมได้ชัดเจนมากขึ้น  จึงขอจำแนกรูปลักษณะภาพรวมของศิลปะขอมแต่ละประเภท  โดยสังเขปดังนี้
            ๑.   สถาปัตยกรรม  ลักษณะสำคัญของศิลปะขอม คือ ความมีระเบียบและการแสดงอำนาจอย่างแข็งกระด้าง  ลักษณะเช่นนี้เห้นได้ชัดจากการวางผังเมืองอย่างได้สัดส่วน  อาทิ เมืองพระนครหรือราชธานีก่อนเมืองพระนคร  คือเมืองหริหราลัย  (Hariharalaya)  สถาปัตยกรรมขอมในชั้นต้น คือ ศาสนสถานที่เรียกว่า  “ปราสาทขอม”  ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับศาสนสถานทางภาคเหนือของประเทศอินเดียมาก  โดยทั่วไปจะสร้างด้วยอิฐตั้งอยู่โดด ๆ  แยกออกจากกัน  แต่ต่อมาไม่นานการสร้างปราสาทเหล่านี้ก้ได้รวมกันเข้าเป็นหมู่และตั้งอยู่บนฐานอันเดียวกัน  เช่น  ปราสาทพระโค  ปราสาทบันทายสรี  เป็นต้น  ต่อมาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่  ๑๔  เป็นต้นมา  คือตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่    ก็เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาขึ้นในกัมพูชาและทำให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่ขึ้นในศาสนสถานขอมขึ้นคือ  ฐานทำเป็นชั้นแล้วสร้างปราสาทไว้ข้างบนนั้น  ฐานแต่ละชั้นก็คือการจำลองเขาพระสุเมรุ  ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของมนุษย์โลก  ดังตัวอย่างปราสาทบากอง (Bakong)  ปราสาทพนมบาแค็ง  (Phnom  Bakheng)  เป็นต้น    ระยะต่อมาโครงสร้างสถาปัตยกรรมของขอมได้มีการพัฒนาส่วนประกอบของปาราสาทเพิ่มขึ้น   โดยเพิ่มระเบียงเข้ามาประกอบกับสองส่วนแรกที่เป็นปราสาทและฐานเป็นชั้น  เช่น  ปราสาทตาแก้ว  (Takeo)  ในสมัยคลังและปราสาทนครวัด  ซึ่งปราสาทนครวัดนับเป็นศาสนสถานกลุ่มที่สมบูรณ์และงดงามที่สุดในศิลปะขอม   สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗   ระหว่าง  พ. ศ. ๑๖๕๐ -  พ. ศ. ๑๗๐๐  เป็นการพัฒนามาจากปราสาท
ตาแก้ว          
                 ๒.  ประติมากรรม  ภาพสลับนูนต่ำของขอมในชั้นต้นสลับคล้ายของจริงตามธรรมชาติเหมือนกับภาพสลักในประเทศอินเดีย  เช่น  บรรดาทับหลังของปราสาทหลังกลางในศาสนสถานหมู่ใต้ที่สมโบร์  แต่ต่อมาก็มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป  ดังเห็นได้จากปราสาทบากองในสมัยพระโค  และที่ปราสาทกระวันในบริเวณเมืองพระนคร  ภาพสลักแห่งนี้สลักเป็นรูปพระนารายณ์ และพระลักษณ์  มียืนอยู่เหนือผนังภายใน
ศาสนสถาน  แสดงความแข็งกระด้างช่นเดียวกับประติมากรรมลอยตัวในขณะนั้น  นอกจากนี้ยังพบภาพสลักบนหน้าบันของปราสาททายสรี  ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจ  เพราะสลักอย่างได้ระเบียบและเต็มไปด้วยความงดงามอ่อนช้อย  เช่น  ภาพสลักนางอัปสรติโลตตมาที่อยุ่ม่ามกลางอสูรสองตน  ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์  กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศษ  และประมาณ  พ.ศ.๑๖๕๐-๑๗๐๐  ได้มีภาพสลักขนาดใหญ่ซึ่งแปลกประหลาดอย่างยิ่งที่ระเบียงปราสาทนครวัด  เป็นสภาพสลักนูนต่ำขนาดใหญ่    ภาพสลักอยู่บนระเบียงชั้นที่    ภาพเหล่านี้แสดงบุคคลจำนวนมาก  ไม่ปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่าและชอบแสดงจิตใจอย่างรุนแรง  เช่น  ภาพการสู้รบ  ภาพนรก  ภาพสวรรค์  ภาพเหล่านี้แม้ว่าจะแสดงจังหวะที่ค่อนข้างกะด้างแต่ก็ต่อเนื่องกันไป  และแสดงให้เห็นถึงความนิยมในเส้นขนานขนาดใหญ่ตลอดจนการประกอบภาพอย่างมโหฬารด้วย   ต่อมาในสัมยบายนก็มีลักษณะใหม่เกิดขึ้นในภาพสลักนูนต่ำของขอม  คือ  การนิยมแสดงภาพตามความจริง  ภาพชีวิตประจำวันตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น  ภายหลังต้นพุทธศตวรรษ
ที่  ๑๒  คือ  ตั้งแต่สมัยพนมดา   ก็เริ่มประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่  ซึ่งมีลำตัวตรงง  ขาแยกจากกัน  และล้อมรอบด้วยวงโค้งสำหรับยึด  ประติมากรรมเหล่านี้โดยมากสลักเป็นรูปพระหริหระคือ พระนารายณ์และพระอิศวรผสมกันเป็นองค์เดียว  มีสัญลักษณ์ของเทพเจ้าทั้งสอง  แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาเอกภาพไว้ได้อย่างน่าสนใจ  รูปพระหริหระที่งดงามมากองค์หนึ่งอยู่ที่พิพธภัณฑ์กีเมต์  กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส  คือ รูปพระหริหระแห่งมหาฤาษี  (Maha  Rosei)   นอกจากนี้  ลวดลายเครื่องประดับในองค์ประกอบของ
“ทับหลัง”  (ศิลาสลักแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เหนือกรอบประตู)  ก็ยังมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ  รวมทั้งเสาประดับกรอบประตู  และเครื่องประดับรูปสัตว์  คือ  นาค  ซึ่งเป็นการคิดค้นของขอมที่น่าชมมาก  ส่วนทับหลังที่มีรูปร่างสูงก็จะมีลวดลายเครื่องประดับมากขึ้น  ทับหลังแบบนี้อาจตัดได้ว่าเป็นทับหลังที่มีความงดงามที่สุดในศิลปะขอแม้ว่าจะมีลวดลายเครื่องประดับอย่างมากมายและไม่นิยมพื้นที่ว่างเปล่า  แต่ก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้อย่างเคร่งครัด  อาทิ  ทับหลังที่เมืองหริหารลัยสมัยพระโค  เป็นต้น

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น