Power by Dektajoy

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะสากล


           ศิลปะสากล
มีพื้นฐานมาจากศิลปะตะวันตก และมีวิวัฒนาการมาหลายยุคกลายสมัยจนอิทธิพลขยายไปยังชาติต่างๆในโลกกว้างขวาง คำว่า “ สากล ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั่วไประหว่างประเทศ ศิลปะสากลจึงเป็นศิลปะที่มีการผสมผสานแนวความคิด ตลอดจนรูปแบบต่างๆ ไว้อย่างกว้างขวาง มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และมีวิธีการสร้างสรรค์ผลงานได้โดยอิสระ ดังนั้น ศิลปะสากลจึงจำแนกได้ตามช่วงเวลาและยุคสมัยได้อย่างกว้างๆ ดังนี้
          สมัยก่อนประวัติศาสตร์   สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ยุค ดังนี้
1. ยุคหิน นับตั้งแต่สมัยหินเก่าเป็นต้นมา มนุษย์รู้จักใช้ความคิดประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ตั้งแต่เครื่องมือที่ทำมาจากหินหยาบ ๆ หรือกระดูกสัตว์ รู้จักใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย รู้จักรวมกลุ่มทางสังคม รู้จักก่อไฟ และสามารถพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาระหว่าง 14,500 ปีก่อน ค.ศ. มนุษย์รู้จักการเขียนสี ขูดขีดเป็นรูปสัตว์หรือภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการล่าสัตว์ อีกทั้งยังมีการวาดรูปลายเรขาคณิตไว้บนผนังถ้ำ และเพิงผาต่างๆ อีกด้วย ดังที่พบหลักฐานในประเทศฝรั่งเศสและทางภาคเหนือของประเทศสเปน ภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุด พบอยู่ในถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน เป็นภาพวัวไบซันกำลังแสดงท่าทางเคลื่อนไหวในลักษณะท่าวิ่งหรือกระโดด ภาพที่วาดจะระบายด้วยสีแดง ดำ และเหลือง มีเส้นตัดรอบนอกเป็นสีดำและพบถ้ำลาส์โกซ์ (Lascaux) ประเทศฝรั่งเศสเป็นภาพวาดสุนัขป่ากวางเรนเดียร์ ม้า ช้างโบราณ และสัตว์อื่นๆ ส่วนประติมากรรมวิธีจะเริ่มต้นจากการขูดขีดก่อน หลังจากนั้นจึงพัฒนาไปสู่การแกะสลัก การตกแต่งสีต่างๆ ให้สวยงาม วัสดุที่ใช้จะเป็นพวกดินไม้ งา กระดูก และเขาสัตว์
นอกจากนี้ยังรวมรูปปั้นวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟของประเทศออสเดรียไว้ด้วย
2. ยุคโลหะ ผลงานของยุคโลหะที่เด่น และน่าสนใจจะเป็นพวกเครื่องประดับตกแต่ง เคราองปั้นดินเผา และอนุสาวรีย์ (Megalithic) ด้านจิตรกรรมและประติมากรรมจะปรากฎหลักฐานการเขียนที่เน้นการแสดงด้วยการเขียนลวดลายให้มีลักษณะประดิษฐ์มากขึ้น และใช้เป็นรูปแบบสัญลักษณ์แทนความหมายกว้างๆ ด้านสถาปัตยกรรมนิยมสร้างอนุสาวรีย์หิน ซึ่งกรรมวิธีการสร้างอนุสาวรีย์จะทำขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์  ดังปรากฎหลักฐานกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปยุโรปตะวันตก


  สมัยประวัติศาสตร์   สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย ดังนี้
1)  สมัยโบราณ เป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรโบราณต่างๆ ตั้งแต่ประมาณ 5.000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลายใน ค. ศ. 476 จึงนับว่าสิ้นสุดสมัยโบราณโดยประมาณ ซึ่งสมารถแยกกล่าวได้ดังนี้
    1.1) อียิปต์  อาณาบริเวณพื้นที่ตั้งของอียิปต์แต่เดิมนั้นเป็นแหล่งชุมชนของมนุษย์ยุค
ก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมามนุษย์ยุคหินได้พัฒนาตนเองด้วยการรู้จักนำโลหะมาใช้ จึงก้าวสู่ ยุคสำริด (Bronze Age) อารยธรรมเหล่านี้ได้สร้างพื้นฐานเป็นอย่างดีต่อความเจริญก้าวหน้าของอียิปต์ จนกลายเป็นชุมชนที่มีความเจริญเก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ด้านจิตรกรรม พบภายในพีระมิดตามฝาผนังห้องต่างๆ ศิลปินอียิปต์สลักภาพรูปนูนต่ำแล้วจึงระบายสีทับลงไปอีกชั้นหนึ่งด้านประติมากรรม มีการสลักรูปใบหน้าคนไว้บนหีบศพมาตั้งแต่ยุคแรกๆ รูปสลักจะคำนึงถึงความแน่น ความมีปริมาตรทึบตันตามรูปทรงของแท่นหิน ด้านสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดี
ได้แก่ สฟิงซ์ และพีระมิดต่างๆ เช่น พีระมิดแห่งเมืองกิเซห์ จะเห็นได้ว่า ศิลปะและสถาปัตยกรรมของอียิปต์จะมีลักษณะเรียบง่าย แต่ใหญ่โตมั่นคง ถาวรและสง่างาม
     1.2 ) กรีก ชาวกรีกมีเชื้อสายอินโดยูโรเปียน มีความเจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ เช่น ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศิลปกรรมแขนงต่างๆ ด้านจิตรกรรมจะปรากฏหลักฐานภาพวาดบนภาชนะเครื่องปั้นดินเผา มีการวาดภาพคน เน้นภาพทิวทัศน์ให้มีความกลมกลืนกันสกุลช่างเอเธนส์เป็นสกุลช่างนักวาดภาพที่มีชื่อเสียง และมีอิทธิพลต่อโรมันในระยะต่อมา สถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดคือ พระวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมดอริก (Doric) มีลักษณะโคนเสาใหญ่และเรียวขึ้นไปจนถึงยอด ตามลำเสาเซาะร่องเป็นทางยาว โดยที่ข้างบนจะมีแผ่นหินแบบเรียบแต่มั่นคงติดอยู่ นอกจากนี้ยังมีวิหารอีเรคติอุดม (Erechtheum) ซึ่งสร้างแบบไอโอนิก (Ionic) มีลักษณะเสาเรียวสง่างาม แผ่นหินบนหัวเสา
เป็นรูปโค้งย้อยม้วนลงมาทั้ง 2 ข้าง เหนือขึ้นไปเป็นรูปฐาน 3 ชั้น ซึ่งต่อมาพัฒนาไปเป็นแบบโครินเธียน(Corinthian) ซึ่งมีลักษณะหัวเสาเรียวกว่า “แบบไอโอนิก” และหัวเสาก็จะมีการประดับประดามากขึ้น เช่น แกะสลักเป็นรูปไม้ประดิษฐ์ ทั้งวิหารพาร์เธนอน และวิหารอิเรคติอุมต่างก็เป็นประจักษ์พยานแสดงให้เห็นถึงความงดงามของสถาปัตยกรรมกรีก ซึ่งยากที่จะหาสิ่งใดมาทัดเทียมได้ โดยเฉพาะการวางแผนผัง การระยะถูกสัดส่วน ทั้งส่วนสูง ระยะระหว่างเสา การประดับลวดลายความโค้งของหลังคา ล้วนแล้วแต่ได้ผ่านการคิดคำนวณอย่างละเอียดถี่ถ้วนและสมดุลที่สุด 
    สำหรับประติมากรรมนั้นในระยะแรกๆ ยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมอียิปต์ ซึ่งมักปรากฏในท่าทางตามแบบฉบับ คือ เท้าข้างหนึ่งก้าวไปข้างหน้า มือทั้งสองข้ากำแน่น จนกระทั่งประติมากรกรีกก็ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมา โดยแสดงถึงลักษณะของมนุษย์นิยมและความสมดุล เช่นรูปปั้นเทพหรือเทพีต่างก็แสดงความเป็นมนุษย์ เช่น รูปเทพีอธีนา (Athena) ในพระวิหารพาร์เธนอน และรูปปั้นเทพีซีอุส (Zeus) ในวิหารโอลิมเปีย (Olimpia)  ซึ่งเป็นฝีมือขั้นสุดยอดของประตากรกรีกชื่อฟีเดียส (Phidian) โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปปั้นนักขว้างจักร (diseus throwing) ฝีมือของไมรอน (Myron) ซึ่งแสดงให้เห็นร่างกายมนุษย์อันได้สัดส่วนขณะเคลื่อนไหว
     1.3 โรมัน  ชาวโรมันแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมกรีกกับความเป็นตัวของตัวเองที่ต้อการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และในขณะที่ชาวอียิปต์และชาวกรีกเป็นนักคิดในแบบของตนเอง ชาวโรมันกลับเป็นนักปฏิบัติที่มีความสามารถสูงมาก ถ้าหากปราศจากชาวโรมันที่รับและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมเสียแล้ว วัฒนธรรมกรีกทั้งหมดหรือส่วนใหญ่อาจจะสูญสิ้นไปก็ได้ ศิลปวัฒนธรรมของชาวโรมันในด้านต่างๆ ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะที่ต่างจากชาวกรีก เช่น ลักษณะของความรับผิดชอบ เคารพในอำนาจ ความมีระเบียบวินัยเหนือเสรีภาพส่วนบุคคล   กล่าวได้ว่าชาวโรมันที่ผู้ที่คอยพิทักษ์ และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของเดิมที่ได้รับมาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีบ้างที่มีการดัดแปลง โดยสถาปนิกและวิศวกรชาวโรมันได้พยายามรักษาโครงร่าง และรูปแบบพื้นฐานของกรีกไว้ เช่น ลักษณะวัฒนธรรมของกรีกที่นิยมการประดับประดาหรูหราฟุ่มเฟือย แต่โรมันก็เน้นความใหญ่โตแข็งแรง และการดัดแปลงหัวเสาแบบโครินเธียนมาเป็นรูปโค้ง (Arch) ตามอิทธิพลอีทรัสกัน ( Etruscans) ซึ่งจะพบได้ในสิ่งก่อสร้างเพดานโค้งเพื่อคลุมเป็นหลังคาสำหรับบริเวณใหญ่ๆ ดังนั้นสถาปัตยกรรมโรมันจึงไม่มีลักษณะเรียบขนานไปกับแนวพื้นดินอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของกรีกชาวโรมันไม่นิยมสร้างวัดถวายเทพเจ้าเหมือนชาวกรีก แต่จะสร้างตามความปรารถนาที่จะใช้ประโยชน์ เช่น สถานที่อาบน้ำสาธารณะ โรงมหรศพขนาดใหญ่ เป็นต้น   ผลงานที่มีลักษณะเด่นๆ ของชาวโรมันและเป็นที่รู้จักทั่วๆไป ได้แก่ วิหารแพนธีออน (Pantheon) โคลอสเซียม (Colosseum) หรือโรมันฟอรัม (Roman Forum) สำหรับประติมากรรมโรมันก็มีลักษณะเหมือนจริงตามธรรมชาติได้สัดส่วนงดงามเช่นเดียวกับศิลปะกรีก เนื่องจากถือหลักการเดียวกันว่า มนุษย์คือศูนย์กลางของการแสดงออกซึ่งศิลปะประเภทนี้ ในด้านจิตรกรรม
จิตรกรรู้จักวาดรูปร่างมนุษย์ได้สัดส่วนถูกต้องกับความจริงมาก โดยผลงานที่มีความสมบูรณ์พอจะมีหลงเหลืออยู่บ้างก็ที่เมืองปอมเปอี นอกจากนี้ยังนิยมนำมาเสกมาประดับตกแต่งภาพอีกด้วย
2. สมัยกลาง   ในสมัยนี้มีรูปแบบศิลปะที่สำคัญ 2 สมัย คือ
    ศิลปะสมัยโรมาเนสก์ (Romanasque) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11- 13 และ  สมัยกอทิก (Gothic) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 – 14 เป็นศิลปะที่มีรูปแบบทางศาสนาที่ชัดเจน มีลักษณะเฉพาะตัว มีผลงานเด่นชัดทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม งานโลหะ จิตรกรรม ภาพคัมภีร์ มีการใช้สื่อเพื่อแสดงออกทางศิลปะหลากหลาย ศิลปะทั้งสองลักษณะนี้ได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรป  โดยเฉพาะผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ได้แสดงให้เห็นถึงการออกแบบและก่อสร้างตกแต่งที่ประณีต ซับซ้อนมากขึ้น ความแตกต่างทางด้านสถาปัตยกรรมของโรมาเนสก์ และกอทิก  เป็นการเพิ่มหน่วยย่อยในบริเวณว่างเข้าไปสู่โครงสร้างหลักท้ายสุด ดังนั้นอาคารก็คือผลรวมของส่วนย่อย ส่วนศิลปะแบบกอทิกจะมีลักษณะแสดงหน่วยรวมในการออกแบบอย่างชัดเจนมากกว่าศิลปะโรมาเนสก์ โดยรูปทรงส่วนรวมเกี่ยวกับการแสดงออกของรวมมวลรูปทรง นิยมใช้โ ค้งกลม  โค้งแหลมในงานสถาปัตยกรรม เสามั่นคง แข็งแรง วิหารที่เป็นตัวอาคารจะมีลักษณะสูงแหลมเสียดฟ้า มีการตกแต่งด้วยกระจกสีอันตระการตา ฉะนั้นจะเห็นสถาปัตยกรรมแบบกอทิก จึงเสมือนกับการสร้างขึ้นมาเพื่อบูชา พระเจ้า ซึ่งความงามเหนือธรรมชาติเช่นนี้สัมพันธ์กับคำสอนและปรัชญาของคริสต์ศาสนาในช่วงเวลานั้น ภายในโบสถ์และประตูของศิลปะแบบกอทิกมักจะได้รับการตกแต่งในบริเวณค่อนข้างจำกัด รูปทรงคนแข็งกร้าวการตกแต่งเป็นแบบตายตัว   ประติมากรรรมสมัยกอทิกจึงเป็นศิลปะที่ได้พัฒนาไปสู่รูปทรงที่เป็นธรรมชาติมากกว่าศิลปะแบบโรมาเนสก์

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น