Power by Dektajoy

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะตะวันออก_อินเดีย





                     ศิลปะตะวันออก

ความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมของสังคมตะวันออกนั้น  อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานจากอารยธรรมของอินเดียและจีนแทบทั้งสิ้น  ในลักษณะที่เข้าไปผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในดินแดนต่างๆจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ  อารยธรรมอินเดียและจีนมีพัฒนาการมาช้านานทัดเทียมกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์  จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์สำคัญๆ  ในสังคมตะวันออก  ในที่นี้จะขอกล่าวถึงศิลปะของประเทศอินเดีย  จีน  และขอมพอสังเขป  ดังนี้
                    
 ศิลปะอินเดีย
 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
 ในทศวรรษของปี ค.ศ. ๒๒๐ การขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณคดีเพื่อพิสูจน์ความเจริญของอินเดียในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจากการขุดค้นก็พบซากเมืองฮัปปา (Harappa) และโมเฮนโจ-ดาโร (Mohenjo-(Daro) ในกลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งนักโบราณคดีสันนิฐานว่า เมืองสองนี้เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเก่าแก่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มแม่น้ำสินธุ และตอนบนของลุ่มแม่น้ำคงคา เมื่อสมัยประมาณ ๒๕๐๐ ปี  หรือ  ๒๐๐๐ ปีก่อนจาหลักฐานได้ว่า ชาวอินเดียในลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นชาวเมืองที่มีความเจริญสูงมากโดยสังเกตจักการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ  ถนนตัดเป็นมุมฉาก  นอกจากนี้ยังมีการขุดพบศิลปวัตถุต่างๆอีกมาก  ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดสร้างสรรค์  เช่น  ที่ประทับตราทำด้วยหินสบู่จำนวนมาก  บางชิ้นฝีมือการสลักยอดเยี่ยมมากโดยแกเป็นเทพเจ้าเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นรูปวัวอินเดีย) และยังพบเครื่องประดับทำด้วยหินมีค่าหลายชนิด  บางชนิดก็ทำด้วยกระดูกสัตว์พวกงาช้างเปลือกหอย  ประเภทดินเผา  ทำเป็นรูปนกและสัตว์พวกเครื่องรางและแกะสลักเป็นรูปเสือ  ช้าง จระเข้  แต่ที่สนใจและแสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อกับเมโสโมเตเมียและอียิปต์คือประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็กซึ่งรูปครึ่งตัวของชายมีเครา  ใบหน้าคล้ายชนชาติเซมิติก (Semitic)  ในเมโสโปเตเมีย  เทพเจ้าบางองค์ของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุยังคงมีอิทธิพลอยู่ศาสนาพรามณ์-ฮินดูปัจจุบัน  ซึ่งหลักฐานแสดงความต่อเนื่องของอารยธรรมอินเดีย
                      ศิลปะอินเดีย
                    สมัยประวัติศาสตร์ 
 ศิลปะอินเดียในสมัยนี้ส่วนใหญ่จะมุ่งพรรณนาหรือเล่าเรื่องเป็นสำคัญ(Base reelief) หรือภาพเขียนบนฝาผนังขนาดใหญ่ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ศิลปะอินเดียเจริญรุ่งเรืองสูงสุดแบบหนึ่งโลก โดยสามารถจำแนกออกเป็นต่างๆ ได้ดังนี้
            ๑)  ศิลปะแบบสัญจี  (Sanchi)  เป็นศิลปะของอินเดียในสมัยประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ใน
วงศ์เมานิยะ (Maurya) และศุงคะ (Sunga) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น 
ปรากฏผลงานทั้งด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  และจิตรกรรมมากมาย  ในส่วนสถาปัตกรรมแม้จะเหลืออยู่ไม่มากนัก  แต่ปรากฏหลักฐานเป็นศาสนสถานที่เป็นถ้ำ  ซากพระราชวังพระอโศกมหาราชที่เมืองปาฏลีบุตร  และที่เมืองตักสิลา  สถูปต่างๆ  และเสาแปดเหลี่ยมสำหรับสถูปที่สำคัญคือ  สถูปสาญจี  ซึ่งมีลักษณะเป็นโอคว่ำหรือขันคว่ำ  ลักษณะดังกล่าวเป็นแบบอย่างสร้างสถูปอื่นๆ  ในสมัยอื่นๆ  ในสมัยต่อมาเรียกสถูปว่า ศิลปะแบบสาญจี ส่วนทางด้านประติมากรรมของอินเดียในระยะแรกมักจะเป็น
ลวดลายประกอบสภาปัตยกรรม มีทั้งประเภทประตากรรมลอยตัว ซึ่งมักเป็นรูปเคารพในศาสนาสถานหรือเทพเจ้าสำคัญๆ เช่น รูปแม่พระธรนี และประเภทภาพสลักนูนต่ำสำหรับพรรรณาเรื่องราวทางศาสนา แต่ศิลปะในสมัยนี้ยังไม่กล้าประดิษฐ์พระพุทธประวัติ จะใช้สัญลักษณ์แทน อาทิ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทนปางปฐมเทศนาและสถูปแทนปางปรินิพพาน เป็นต้น
๒)  ศิลปะบบคันธาระ  (Candhara)
เอาอิทธิพลศิลปะของกรีกรุ่นหลังเข้ามาผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่นมากขึ้น  ที่สำคัญคือการสร้างพุทธศิลป์  โดยนิยมทำด้วยทำด้วยหินซิสต์  (Schist)  สีน้ำเงินปนเทา หรือค่อนข้างเขียนหรือใช้ปูนปั้นแล้วระบายสี  พระพุทธรูปแบบ  คันธาระ  จะแสงอิทธิพลของกรีกอย่างชัดเจน  นอกจากนี้ศิลปะแบบคันธาระยังเป็นศิลปะสมัยแรกที่กล้าประดิษฐ์พระพุทธรูปขึ้นเป็นมนุษย์  อันเป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุด ด้วยความคิดใหม่เช่นนี้ได้ส่งผลสะท้อนไปสู่การประดิษฐ์รูปภาพทางพระพุทธศาสนา  อาทิ  ปาง  ประสูติที่มีภาพพระพุทธองค์เสด็จออกมจากปรัศว์  (สีข้าง)  ของมารดา  หรือแสดงภาพปางเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน  เป็นรูปพระพุทธเจ้ากำลังบรรทมตะแคงสิ้นพระชนม์แวดล้อมไปด้วยพุทธสาวก
๓)  ศิลปะแบบมถุรา  (Mathura)
ประติมากรรมในสมัยนี้จะนิยมใช้หินทรายสีชมพูแก่ลักษณะของพระพุทธรูปในสมัยนี้แม้จะยังคงแสดงให้เห็นอิทธิของศิลปะแบบคันธาระอยู่บ้าง  แต่พระพักตร์ของพระองค์จะมีลักษณะคล้ายชาวอินเดียมากขึ้น  พระเคียรมีลักษณะกลม  ผ้าจีวรบายิ่งกว่าแบบคันธาระและแนบสนิทกับลำตัว  นอกจากนี้ยังมีภาพสลักบนงาช้างและกระดูกด้วยวิธีแกะสลัก  ศิลปะแบบมถุราระยะหลังยังคงรักษาการประดิษฐ์แบบธรรมชาติของศิลปะอินเดียโบราณไว้
๔)  ศิลปะแบบอมราวดี  (Amaravati)
มัลักษณะผสมผสาน  โดยบางส่วนจะคล้ายกับมถุรา  ลักษณะแบบอมราวดี  จะแสดงความเคลื่อนไหวตื่นเต้นมากในระยะแรกและต่อมาค่อยสงบลง  แล้วกลับแสดงท่าเคลื่อนไหวใหม่อีกครั้ง  ภาพบุคคลไม่มีรูปร่างสมบูรณ์ดังแต่ก่อน ศิลปะแบบนี้จะเป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียสมัยโบราณและการทำตามอุดมคติปะปนกับการแสดงชีวิตจิตใจ  ภาพที่สำคัญในสมัยนี้จะเป็นภาพในวงกลมแสดงการนำบาตรหรือเกศาของพระพุทธเจ้าขึ้นไปสู่สวรรค์พระพุทธรูป
อมราวดีมักจะครองจีวรห่มเฉียง  จีวรเป็นริ้วทั้งองค์  และที่เบื้องล่างใกล้พระบาทมีขอบจีวรหนายกจากทางด้านขวาขึ้นมาพาดข้อพระหัตถ์ซ้าย
๕)  ศิลปะแบบคุปตะ  (Gupta)
ถือเป็นยุคทองศิลปะอินเดีย  ซึ่งลักษณะศิลปะแบบคุปตะและคุปตะนั้น  มีลักษณะสมัยใหม่ที่พัฒนาจากศิลปะแบบเก่า  มีความสมดุลได้สัดส่วน  มีความระเอียดอ่อนสวยงามที่เป็นธรรมชาติ  มีรูปร่างและเส้นเด่นชัด  ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นตัวของตนเองในทางสร้างสรรค์  ผลงานที่สร้างสรรค์  ผลงานที่สำคัญคือพระพุทธรูป  เช่น  สารนาถ  (Sarnath)  และมถุรา (Mathura) ภาพสลักนูนสูงที่ถ้ำเอลลูรา จิตรกรรมที่ถ้ำอชันตาเป็นภาพในพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ทั้งในด้านองค์ประกอบและความสมดุล พระพุทธรูปสมัยคุปตะมีชื่อเสียงแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่แสดงความอ่อนโยน ความเมตตากรุณาลักษณะที่สงบนิ่งสำรวม ศิลปะสมัยคุปตะจึงมีอิทธิพลศิลปะในสมัยหลังหลังๆสืบต่อมาอีกหลายศตวรรษ


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น