Power by Dektajoy

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิทยากรอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหนังสั้น

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554  ทีมถ่ายทำภาพยนตร์สั้น  โรงเรียนกุดบากพัฒนาศึกษา อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร  สพม.23  ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำภาพยนตร์สั้นและสารคดีเชิงข่าว ที่โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
นำทีมโดย ท่านอาจารย์ทองพูล พันธ์เลิศ  อาจารย์กงวิทย์ ศิริขันธ์ และชุมนุมช่างภาพทีม dektajoy Gen 3




             









วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดศิลปะ ม.6


แบบฝึกหัด    
วิชาศิลปะ   ชั้น ม. 6    เรื่องศิลปะสากล
1. ประติมากรรมรูปจักรพรรดิออกุสตุส ศิลปะโรมัน สร้างขึ้นใน ค.ศ. ใด
2. ภาพวัวไบซันกำลังแสดงท่าทางเคลื่อนไหวในลักษณะท่าวิ่งหรือกระโดดเป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอยู่ในประเทศอะไร
3. ในสมัยยุคหินเก่ามนุษย์ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินชนิดไหน                          
4.  สฟิงซ์ สร้างขึ้นเพื่ออะไร
5. ศิลปะแบบโรบาเนสก์ สร้างขึ้นในสมัยกลาง ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอะไรเป็นหลัก
6. วิหารใดเป็นวิหารที่มีการใช้หลังคาโค้งทำให้อาคารกว้างมากกว่า                          
7.  ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แบ่งย่อยได้เป็นกี่ยุค
8.ประติมากรรมขว้างจักรฝีมือของไมรอนแสดงให้เห็นถึงอะไร                                
9. ศิลปะสากลได้รับอิทธืพลมาจากศิลปะแถบใด                          
10.  สฟิงซ์ มีลักษณะอย่างไร                           
11. วิหารโอลิมเปีย ที่สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมโครินเซียน อยู่ในประเทศอะไร
12. ผลงานที่มีลักษณะเด่นของชาวโรมัน และเป็นที่รู้จักทั่วโลกได้แก่อะไรบ้าง
13. ภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่อยู่ในถ้ำอัลตามิราเป็นภาพสัตว์ชนิดใด                          
14. พีระมิดแห่งเมืองกิเซห์ สร้างขึ้นในสมัยใด
15. สถาปัตยกรรมของชาวกรีกที่งดงามที่สุดคืออะไร
16. อารยธรรมพื้นฐานที่มีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของอียิปต์ กลายเป็นชุมชนที่มีความเจริญเก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ด้านจิตรกรรมพบที่ใด                           
17.. พบหลักฐานในประเทศฝรั่งเศสและทางภาคเหนือของประเทศสเปน ภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดพบอยู่ในถ้ำอะไร ประเทศไหนและภาพที่พบเป็นภาพอะไร                         
18. พีระมิดแห่งเมืองดิเซห์อยู่ในประเทศใด              
19.  อียิปต์มีสถาปัตยกรรมที่เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงคืออะไร
20.  จิตรกรโรมันรู้จักวาดรูปร่างมนุษย์ได้สัดส่วนถูกต้องกับความจริงมาก โดยผลงานที่มีความสมบูรณ์พอที่จะหลงเหลืออยู่บ้างพบที่เมืองใด 
21.  ภาพวาดวัวไบซันในถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปนศิลปะสมัยก่อนประวัติศาตร์อยู่ในยุคใด
22.  ยุคสำริดมีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร                         
23. โบสถ์นอตเตรอดาม สถาปัตยกรรมแบบกอทิกอยู่ในประเทศใด
24.   สโตนเฮนจ์ หรืออนุสาวรีย์หิน ณที่ราบซอลสเบอรีอยู่ที่ประเทศใด                  
25.  รูปปั้นวีนัส แห่งแห่งวิลเลนดอร์ฟ อยู่ในประเทศอะไร
26.  ผลงานที่มีลักษณะเด่นๆของชาวโรมันและเป็นที่รู้จักทั่วโลกคือ   
27.  อาณาบริเวณพื้นที่ตั้งของอียิปต์แต่เดิมนั้นเป็นแหล่งชุมชนของมนุษย์ยุคใด           
28.   ประติมากรกรีกที่สร้าง วิหารโอลิมเปีย (Olympia) คนผู้นั้นมีชื่อว่าอะไร    
29.  ประติมากรรมรูปจักรพรรดิออกุสตุลสร้างขึ้นในสมัยใด    
30.  สิ่งของที่ทุกคนสนใจและเป็นจุดเด่นมากในยุคโลหะคืออะไร   
31.  วิหารใดในกรุงเอเธนส์ ที่สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมไอโอนิก      
32.  ยุคใดที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ตั้งแต่เครื่องมือที่ทำด้วยหินหยาบๆ หรือกระดูกสัตว์ และรู้จักใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย                 
33.  ชาวกรีกโบราณมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านใด
34.   วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมดอริกมีลักษณะเป็นอย่างไร
35.   สถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมดอริก คืออะไร
36.   สมัยโบราณมีความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรโบราณต่างๆ ตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว จนกระทั้งถึงจักรวรรดิ......
37.   มนุษย์รู้จักใช้ความคิดประดิษฐ์เครื่องมือใช้ตั้งแต่สมัยใด

ศิลปะตะวันออก_ขอม



ศิลปะขอม
            ศิลปะขอม  ได้แก่ ศิลปะในประเทศกัมพูชาและดินแดนใกล้เคียง  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘  ศิลปะขอมนับเป็นศิลปะอินเดีย  ในระยะแรกมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก  แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง  สถาปัตยกรรมขอมได้เจริญขึ้น   โดยมีระเบียบและความงามชนิดที่ไม่เคยปรากฎในศิลปะอินเดียมาก่อน  ลวดลายเครื่องประดับของขอมก็ได้แสดงถึงการตกแต่งอย่างมากมาย และไม่นิยมเน้นพื้นที่ให้ว่างเปล่า   แต่ในขณะเดียวกันองค์ประกอบของภาพโดยรวมก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้เสมอ    ประติมากรรมขอมได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งกระด้างปนอำนาจชนิดหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันในประเทศอินเดีย  และยังมีการสร้างภาพประติมากรรมให้มีอารมณ์ยิ้มอยู่ด้วย ดังเช่นภาพประติมากรรมที่เมืองพระนคร (Angkor  Thom) ในศิลปะแบบบายน  อาจกล่าวได้ว่า  ประติมากรรมขอมแสดงออกถึงความรู้สึกเร้นลับ ลึกซึ้งอย่างแท้จริง  วิวัฒนาการของศิลปะขอมโดยเฉพาะสถาปัตยกรรมมีการสืบเนื่องติดต่อกันอย่างเห็นได้ชัดหลายสมัย  ดังนี้
๑.      สมัยพนมดา  (Phnom  Da)                           ๘.  สมัยเกาะแกร์  (Koh  Ker)
๒.    สมัยสมโบร์ไพรกุก  (Sambor  Prie kuk)      ๙.  สมัยแปรรูป  (Pre  Rup)
๓.     สมัยไพรกเมง  (Prei  Kmeng)                       ๑๐. สมัยบันทายสรี  (Banteay  Srei)
๔.     สมัยกำพงพระ  (Kampong  Prah)                 ๑๑. สมัยคลัง  (Khleang)
๕.     สมัยกุเลน  (Kulen)                                        ๑๒. สมัยบาปวน  (Baphuon)                
๖.      สมัยพระโค  (Preah  Ko)                               ๑๓.  สมัยนครวัด  (Angkor  Wat)
๗.     สมัยบาแค็ง  (Bakheng)                                 ๑๔.  สมัยบายน  (Bayon)
เพื่อให้เข้าใจศิลปะขอมได้ชัดเจนมากขึ้น  จึงขอจำแนกรูปลักษณะภาพรวมของศิลปะขอมแต่ละประเภท  โดยสังเขปดังนี้
            ๑.   สถาปัตยกรรม  ลักษณะสำคัญของศิลปะขอม คือ ความมีระเบียบและการแสดงอำนาจอย่างแข็งกระด้าง  ลักษณะเช่นนี้เห้นได้ชัดจากการวางผังเมืองอย่างได้สัดส่วน  อาทิ เมืองพระนครหรือราชธานีก่อนเมืองพระนคร  คือเมืองหริหราลัย  (Hariharalaya)  สถาปัตยกรรมขอมในชั้นต้น คือ ศาสนสถานที่เรียกว่า  “ปราสาทขอม”  ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับศาสนสถานทางภาคเหนือของประเทศอินเดียมาก  โดยทั่วไปจะสร้างด้วยอิฐตั้งอยู่โดด ๆ  แยกออกจากกัน  แต่ต่อมาไม่นานการสร้างปราสาทเหล่านี้ก้ได้รวมกันเข้าเป็นหมู่และตั้งอยู่บนฐานอันเดียวกัน  เช่น  ปราสาทพระโค  ปราสาทบันทายสรี  เป็นต้น  ต่อมาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่  ๑๔  เป็นต้นมา  คือตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่    ก็เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาขึ้นในกัมพูชาและทำให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่ขึ้นในศาสนสถานขอมขึ้นคือ  ฐานทำเป็นชั้นแล้วสร้างปราสาทไว้ข้างบนนั้น  ฐานแต่ละชั้นก็คือการจำลองเขาพระสุเมรุ  ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของมนุษย์โลก  ดังตัวอย่างปราสาทบากอง (Bakong)  ปราสาทพนมบาแค็ง  (Phnom  Bakheng)  เป็นต้น    ระยะต่อมาโครงสร้างสถาปัตยกรรมของขอมได้มีการพัฒนาส่วนประกอบของปาราสาทเพิ่มขึ้น   โดยเพิ่มระเบียงเข้ามาประกอบกับสองส่วนแรกที่เป็นปราสาทและฐานเป็นชั้น  เช่น  ปราสาทตาแก้ว  (Takeo)  ในสมัยคลังและปราสาทนครวัด  ซึ่งปราสาทนครวัดนับเป็นศาสนสถานกลุ่มที่สมบูรณ์และงดงามที่สุดในศิลปะขอม   สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗   ระหว่าง  พ. ศ. ๑๖๕๐ -  พ. ศ. ๑๗๐๐  เป็นการพัฒนามาจากปราสาท
ตาแก้ว          
                 ๒.  ประติมากรรม  ภาพสลับนูนต่ำของขอมในชั้นต้นสลับคล้ายของจริงตามธรรมชาติเหมือนกับภาพสลักในประเทศอินเดีย  เช่น  บรรดาทับหลังของปราสาทหลังกลางในศาสนสถานหมู่ใต้ที่สมโบร์  แต่ต่อมาก็มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป  ดังเห็นได้จากปราสาทบากองในสมัยพระโค  และที่ปราสาทกระวันในบริเวณเมืองพระนคร  ภาพสลักแห่งนี้สลักเป็นรูปพระนารายณ์ และพระลักษณ์  มียืนอยู่เหนือผนังภายใน
ศาสนสถาน  แสดงความแข็งกระด้างช่นเดียวกับประติมากรรมลอยตัวในขณะนั้น  นอกจากนี้ยังพบภาพสลักบนหน้าบันของปราสาททายสรี  ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจ  เพราะสลักอย่างได้ระเบียบและเต็มไปด้วยความงดงามอ่อนช้อย  เช่น  ภาพสลักนางอัปสรติโลตตมาที่อยุ่ม่ามกลางอสูรสองตน  ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์  กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศษ  และประมาณ  พ.ศ.๑๖๕๐-๑๗๐๐  ได้มีภาพสลักขนาดใหญ่ซึ่งแปลกประหลาดอย่างยิ่งที่ระเบียงปราสาทนครวัด  เป็นสภาพสลักนูนต่ำขนาดใหญ่    ภาพสลักอยู่บนระเบียงชั้นที่    ภาพเหล่านี้แสดงบุคคลจำนวนมาก  ไม่ปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่าและชอบแสดงจิตใจอย่างรุนแรง  เช่น  ภาพการสู้รบ  ภาพนรก  ภาพสวรรค์  ภาพเหล่านี้แม้ว่าจะแสดงจังหวะที่ค่อนข้างกะด้างแต่ก็ต่อเนื่องกันไป  และแสดงให้เห็นถึงความนิยมในเส้นขนานขนาดใหญ่ตลอดจนการประกอบภาพอย่างมโหฬารด้วย   ต่อมาในสัมยบายนก็มีลักษณะใหม่เกิดขึ้นในภาพสลักนูนต่ำของขอม  คือ  การนิยมแสดงภาพตามความจริง  ภาพชีวิตประจำวันตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น  ภายหลังต้นพุทธศตวรรษ
ที่  ๑๒  คือ  ตั้งแต่สมัยพนมดา   ก็เริ่มประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่  ซึ่งมีลำตัวตรงง  ขาแยกจากกัน  และล้อมรอบด้วยวงโค้งสำหรับยึด  ประติมากรรมเหล่านี้โดยมากสลักเป็นรูปพระหริหระคือ พระนารายณ์และพระอิศวรผสมกันเป็นองค์เดียว  มีสัญลักษณ์ของเทพเจ้าทั้งสอง  แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาเอกภาพไว้ได้อย่างน่าสนใจ  รูปพระหริหระที่งดงามมากองค์หนึ่งอยู่ที่พิพธภัณฑ์กีเมต์  กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส  คือ รูปพระหริหระแห่งมหาฤาษี  (Maha  Rosei)   นอกจากนี้  ลวดลายเครื่องประดับในองค์ประกอบของ
“ทับหลัง”  (ศิลาสลักแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เหนือกรอบประตู)  ก็ยังมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ  รวมทั้งเสาประดับกรอบประตู  และเครื่องประดับรูปสัตว์  คือ  นาค  ซึ่งเป็นการคิดค้นของขอมที่น่าชมมาก  ส่วนทับหลังที่มีรูปร่างสูงก็จะมีลวดลายเครื่องประดับมากขึ้น  ทับหลังแบบนี้อาจตัดได้ว่าเป็นทับหลังที่มีความงดงามที่สุดในศิลปะขอแม้ว่าจะมีลวดลายเครื่องประดับอย่างมากมายและไม่นิยมพื้นที่ว่างเปล่า  แต่ก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้อย่างเคร่งครัด  อาทิ  ทับหลังที่เมืองหริหารลัยสมัยพระโค  เป็นต้น

ศิลปะตะวันออก_จีน

      

ศิลปะจีน
นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าจีนมีประวัติแห่งการพัฒนาประเทศเป็น 4  ยุค  คือ  ยุคแรกเป็นยุคหิน  ต่อมาคือยุคหยก ยุคทองแดง และยุคสุดท้ายคือยุคเหล็ก   สำหรับสมัยประวัติศาสตร์ของจีนมียุคสมัยของศิลปะที่สำคัญดังนี้
                1.  สมัยราชวงศ์ชาง  ( Shang  Dynasty )  ศิลปวัตถุที่เด่นที่สุดคือ  เครื่องสำริด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสำริดซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม  ใหญ่โต  แข็งแรง  หล่อด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยม  อันแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคในการหล่อสำริดที่เจริญกว่าเทคนิคการหล่อสำริดในเมโสโปเตเมีย  ทั้งๆทีรู้จักวิธีหล่อสำริดก่อนจีนเกือบพันปี  เครื่องสำริดของจีนทำขึ้นโดยการหลอมโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดง  ดีบุก  และตะกั่ว  ใช้ทำเป็นภาชนะใส่อาหาร  เหล้า  และน้ำ  ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  เสียม  ขวาน  มีด  เป็นต้น  ลวดลายที่ปรากฏบนสำริดเหล่านี้จะมีความวิจิตรสวยงามมาก  มีทั้งลายนูน  และลายฝังลึกในเนื้อสำริด  เช่น  ลายเรขาคณิต  ลายสายฟ้า  ลายก้อนเมฆ  และลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายหน้ากากรูปสัตว์ที่เรียกว่า เถาเทียะ   เห็นจมูก  เขา  และตาถลนอย่างชัดเจน  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พบเห็นในศิลปะจีนในสมัยต่อๆ มาอยู่เสมอ
                นอกจากสำริดแล้ว  เครื่องหยกประเภทต่างๆ  ก็แสดงเห็นฝีมือทางศิลปะอันสูงส่งของสมัยราชวงศ์ชาง  หยกเป็นวัตถุที่นิยมนำมาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ  มากที่สุด  โดยช่างในสมัยราชวงศ์ชางมีเทคนิคในการเจียระไนและแกะสลักหยกให้เป็นรูปและลวดลายต่างๆ กัน  เช่น  เป็นใบมีด   เป็นแท่ง  เป็นแผ่นแบนๆ  หัวลูกศร  จี้  หรือรูปสัตว์ต่างๆ  สัญลักษณ์ที่นิยมกันมากคือ  สัญลักษณ์ของสวรรค์  โลกและทิศสี่ทิศ  นอกจากเครื่องหยกแล้วยังพบผลงานแกะสลักอื่นๆอีก  เช่น  งาช้าง  เครื่องปั้นดินเผา  หินอ่อน  โดยแกะสลักเป็นรูปหัววัว  เสือ  ควาย  นก  และเต่า  เป็นต้น                      
                  2.  สมัยราชวงศ์โจว  ( Chou  Dynasty )  ความก้าวหน้าทางศิลปะของราชวงศ์ชาง  ได้สืบทอดต่อมาในสมัยราชวงศ์โจว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการหล่อสำริด ความเป็นตัวของตัวเองของราชวงศ์โจวก็เริ่มปรากฏชัดขึ้น  เช่น  มีการเน้นลวดลายประดับประดามากขึ้นและไม่เด่นนูนเหมือนสมัยราชวงศ์ชาง  มีความซับซ้อนมากขึ้น  เช่น  ลวดลายสัตว์เป็นรูปมังกรหลายตัวซ้อนกันและเกี้ยวกระหวัดไปมา  ลวดลายละเอียดอ่อนช้อยมาก  ในด้านการแกะสลักเครื่องหยกฝีมือช่างสมัยราชวงศ์โจวจะยอดเยี่ยมกว่าสมัยราชวงศ์ชางมาก  สามารถแกะสลักได้สลับซับซ้อน  ในสมัยราชวงศ์โจวยังพบว่ามีการพัฒนาในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา  ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบจีน  เพราะรู้จักกรรมวิธีในการเคลือบน้ำยาเบื้องต้นและรู้จักเผาไฟด้วยอุณหภูมิสูง
                3.  สมัยราชวงศ์จิ๋น   ( Chin  Dynasty )   ในสมัยนี้มีสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านความมโหฬาร  คือ  กำแพงเมืองจีน  ( The  Great  Wall )  ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น  กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ   6,700 10,000  กิโลเมตร
                นอกจากนี้ก็ยังพบประติมากรรมดินเผาเป็นรูปทหารเท่าคนจริงฝังอยู่ในสุสานพระจักรพรรดิองศ์หนึ่งแห่งราชวงศ์จิ๋น  คือ  จักรพรรดิฉิน  สื่อ  หวง  ตี่  ซึ่งพระองศ์ได้สร้างไว้ล่วงหน้าก่อนสวรรคต  30  ปี   การขุดค้นได้กระทำไปแล้วบางส่วนในพื้นที่ประมาณ  12,600  ตารางเมตร   และพบประติมากรรมดินเผารูปทหารและม้าศึกจำนวนมากประมาณ  6,000  รูป   รูปทรงของประติมากรรมมีขนาดใกล้เคียงกับคนจริงมาก  คือมีความสูงประมาณ  6  ฟุต  ปั้นด้วยดินเหนียวสีเทา  จากนั้นก็นำไปเผาไฟเช่นเดียวกับการกรรมวิธีการสร้างเครื่องปั้นดินเผาทั่วไป
                4.  สมัยราชวงศ์ฮั่น  ( Han  Dynasty )  ความเป็นปึกแผ่นของประเทศได้ส่งผลสะท้อนมายังศิลปกรรมให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่วางไว้ดีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชางเรื่อยมา   ต่างได้รับการพัฒนาเต็มที่สมัยราชวงศ์ฮั่น  และประติมากรรมเต็มรูปหรือแบบลอยตัวก็เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้  มีการพัฒนาทางด้านการออกแบบ  กรรมวิธีการสร้างและมโนภาพในงานสถาปัตยกรรม  จิตรกรรมเขียนตัวอักษร ประติมากรรมหรืองานศิลปหัตถกรรมทั่วไป ในส่วนของประติมากรรมมีการนำหินมาสลักให้เป็นทั้งรูปลอยตัวและรูปแบน   มีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายตามความเชื่อในลัทธิเต๋า   ประติมากรรมรูปแบน  มักเป็นแผ่นใช้การขีด  วาด  จารึกเป็นลายเส้นหรือไมก็ฉลุเป็นรูปต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคิดประดิษฐ์กระดาษใช้แทนผ้าไหมและแผ่นหิน  ศิลปะประยุคในสมัยนี้จะบรรลุถึงความงามชั้นสูงสุด  โดยเฉพาะช่างทองรูปพรรณขึ้นชื่อในด้านความประณีต   งดงาม   ซึ่งมีการประดิษฐ์และออกแบบลวดลายพัฒนาขึ้นกว่าเดิมมาก
                5.  สมัยราชวงศ์จิ้น  ( Jin  of  Tsin  Dynasty )  พระพุทธศาสนาได้นำความเชื่อใหม่มาสู่จีน  และได้เข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงศิลปกรรมที่ทำมาเป็นประเพณีแต่เดิม ที่เคยมีความนับถือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าเป็นหลักสำคัญ  ให้พัฒนาไปสู่รูปแบบพุทธศิลป์แบบใหม่ๆ  เช่น  การสร้างรูปเคารพ  ศาสนสถาน  เป็นต้น   โดยเฉพะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติจากอินเดียได้เข้ามามีส่วนสร้างงานด้วย  ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะแรกพุทธศิลป์คงมีรูปลักษณะแบบอินเดีย   แต่ต่อมารูปแบบกรรมวิธีและเนื้อหาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม  และสอดคล้องกับการแสดงออกของศิลปะจีนเอง  เช่น ที่ถ้ำตุนหวง  ได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้  ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจีน  มีลักษณะเป็นภาพทิวทัศน์ประกอบพุทธประวัติ  และเป็นตัวอย่างอันดีของการผสมผสานเทคนิคจิตรกรรมแบบเปอร์เซีย  อินเดีย  และจีนเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว
                6. สมัยราชวงศ์ถัง   ( Tang  Dynasty)   สมัยนี้เป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีนทุกประเภท   โดยเฉพาะเครื่องเคลือบ   ฝีมือของช่างในการผลิตเครื่องเคลือบมีคุณภาพสูงกว่าเครื่องเคลือบที่ผลิตจากแหล่งอื่นๆทั่วโลก   เครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ  เครื่องเคลือบสามสี   ( Thee -  colour wares )  มีลักษณะแข็งแรงและสง่างามจึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ถัง  ลักษณะเนื้อดินละเอียด  ขาวหม่น  ในการเคลือบน้ำยานั้น  จะเว้นที่ส่วนล่างของฐานไว้เล็กน้อย  เพื่อแสดงฝีมือการปั้นของช่าง  ทั้งนี้  ลวดลายที่ปรากฏ  บางส่วนแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเปอร์เซียด้วย

ศิลปะตะวันออก_อินเดีย





                     ศิลปะตะวันออก

ความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมของสังคมตะวันออกนั้น  อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานจากอารยธรรมของอินเดียและจีนแทบทั้งสิ้น  ในลักษณะที่เข้าไปผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในดินแดนต่างๆจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ  อารยธรรมอินเดียและจีนมีพัฒนาการมาช้านานทัดเทียมกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์  จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์สำคัญๆ  ในสังคมตะวันออก  ในที่นี้จะขอกล่าวถึงศิลปะของประเทศอินเดีย  จีน  และขอมพอสังเขป  ดังนี้
                    
 ศิลปะอินเดีย
 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
 ในทศวรรษของปี ค.ศ. ๒๒๐ การขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณคดีเพื่อพิสูจน์ความเจริญของอินเดียในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจากการขุดค้นก็พบซากเมืองฮัปปา (Harappa) และโมเฮนโจ-ดาโร (Mohenjo-(Daro) ในกลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งนักโบราณคดีสันนิฐานว่า เมืองสองนี้เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเก่าแก่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มแม่น้ำสินธุ และตอนบนของลุ่มแม่น้ำคงคา เมื่อสมัยประมาณ ๒๕๐๐ ปี  หรือ  ๒๐๐๐ ปีก่อนจาหลักฐานได้ว่า ชาวอินเดียในลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นชาวเมืองที่มีความเจริญสูงมากโดยสังเกตจักการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ  ถนนตัดเป็นมุมฉาก  นอกจากนี้ยังมีการขุดพบศิลปวัตถุต่างๆอีกมาก  ที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดสร้างสรรค์  เช่น  ที่ประทับตราทำด้วยหินสบู่จำนวนมาก  บางชิ้นฝีมือการสลักยอดเยี่ยมมากโดยแกเป็นเทพเจ้าเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นรูปวัวอินเดีย) และยังพบเครื่องประดับทำด้วยหินมีค่าหลายชนิด  บางชนิดก็ทำด้วยกระดูกสัตว์พวกงาช้างเปลือกหอย  ประเภทดินเผา  ทำเป็นรูปนกและสัตว์พวกเครื่องรางและแกะสลักเป็นรูปเสือ  ช้าง จระเข้  แต่ที่สนใจและแสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อกับเมโสโมเตเมียและอียิปต์คือประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็กซึ่งรูปครึ่งตัวของชายมีเครา  ใบหน้าคล้ายชนชาติเซมิติก (Semitic)  ในเมโสโปเตเมีย  เทพเจ้าบางองค์ของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุยังคงมีอิทธิพลอยู่ศาสนาพรามณ์-ฮินดูปัจจุบัน  ซึ่งหลักฐานแสดงความต่อเนื่องของอารยธรรมอินเดีย
                      ศิลปะอินเดีย
                    สมัยประวัติศาสตร์ 
 ศิลปะอินเดียในสมัยนี้ส่วนใหญ่จะมุ่งพรรณนาหรือเล่าเรื่องเป็นสำคัญ(Base reelief) หรือภาพเขียนบนฝาผนังขนาดใหญ่ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ศิลปะอินเดียเจริญรุ่งเรืองสูงสุดแบบหนึ่งโลก โดยสามารถจำแนกออกเป็นต่างๆ ได้ดังนี้
            ๑)  ศิลปะแบบสัญจี  (Sanchi)  เป็นศิลปะของอินเดียในสมัยประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ใน
วงศ์เมานิยะ (Maurya) และศุงคะ (Sunga) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น 
ปรากฏผลงานทั้งด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  และจิตรกรรมมากมาย  ในส่วนสถาปัตกรรมแม้จะเหลืออยู่ไม่มากนัก  แต่ปรากฏหลักฐานเป็นศาสนสถานที่เป็นถ้ำ  ซากพระราชวังพระอโศกมหาราชที่เมืองปาฏลีบุตร  และที่เมืองตักสิลา  สถูปต่างๆ  และเสาแปดเหลี่ยมสำหรับสถูปที่สำคัญคือ  สถูปสาญจี  ซึ่งมีลักษณะเป็นโอคว่ำหรือขันคว่ำ  ลักษณะดังกล่าวเป็นแบบอย่างสร้างสถูปอื่นๆ  ในสมัยอื่นๆ  ในสมัยต่อมาเรียกสถูปว่า ศิลปะแบบสาญจี ส่วนทางด้านประติมากรรมของอินเดียในระยะแรกมักจะเป็น
ลวดลายประกอบสภาปัตยกรรม มีทั้งประเภทประตากรรมลอยตัว ซึ่งมักเป็นรูปเคารพในศาสนาสถานหรือเทพเจ้าสำคัญๆ เช่น รูปแม่พระธรนี และประเภทภาพสลักนูนต่ำสำหรับพรรรณาเรื่องราวทางศาสนา แต่ศิลปะในสมัยนี้ยังไม่กล้าประดิษฐ์พระพุทธประวัติ จะใช้สัญลักษณ์แทน อาทิ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทนปางปฐมเทศนาและสถูปแทนปางปรินิพพาน เป็นต้น
๒)  ศิลปะบบคันธาระ  (Candhara)
เอาอิทธิพลศิลปะของกรีกรุ่นหลังเข้ามาผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่นมากขึ้น  ที่สำคัญคือการสร้างพุทธศิลป์  โดยนิยมทำด้วยทำด้วยหินซิสต์  (Schist)  สีน้ำเงินปนเทา หรือค่อนข้างเขียนหรือใช้ปูนปั้นแล้วระบายสี  พระพุทธรูปแบบ  คันธาระ  จะแสงอิทธิพลของกรีกอย่างชัดเจน  นอกจากนี้ศิลปะแบบคันธาระยังเป็นศิลปะสมัยแรกที่กล้าประดิษฐ์พระพุทธรูปขึ้นเป็นมนุษย์  อันเป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุด ด้วยความคิดใหม่เช่นนี้ได้ส่งผลสะท้อนไปสู่การประดิษฐ์รูปภาพทางพระพุทธศาสนา  อาทิ  ปาง  ประสูติที่มีภาพพระพุทธองค์เสด็จออกมจากปรัศว์  (สีข้าง)  ของมารดา  หรือแสดงภาพปางเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน  เป็นรูปพระพุทธเจ้ากำลังบรรทมตะแคงสิ้นพระชนม์แวดล้อมไปด้วยพุทธสาวก
๓)  ศิลปะแบบมถุรา  (Mathura)
ประติมากรรมในสมัยนี้จะนิยมใช้หินทรายสีชมพูแก่ลักษณะของพระพุทธรูปในสมัยนี้แม้จะยังคงแสดงให้เห็นอิทธิของศิลปะแบบคันธาระอยู่บ้าง  แต่พระพักตร์ของพระองค์จะมีลักษณะคล้ายชาวอินเดียมากขึ้น  พระเคียรมีลักษณะกลม  ผ้าจีวรบายิ่งกว่าแบบคันธาระและแนบสนิทกับลำตัว  นอกจากนี้ยังมีภาพสลักบนงาช้างและกระดูกด้วยวิธีแกะสลัก  ศิลปะแบบมถุราระยะหลังยังคงรักษาการประดิษฐ์แบบธรรมชาติของศิลปะอินเดียโบราณไว้
๔)  ศิลปะแบบอมราวดี  (Amaravati)
มัลักษณะผสมผสาน  โดยบางส่วนจะคล้ายกับมถุรา  ลักษณะแบบอมราวดี  จะแสดงความเคลื่อนไหวตื่นเต้นมากในระยะแรกและต่อมาค่อยสงบลง  แล้วกลับแสดงท่าเคลื่อนไหวใหม่อีกครั้ง  ภาพบุคคลไม่มีรูปร่างสมบูรณ์ดังแต่ก่อน ศิลปะแบบนี้จะเป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียสมัยโบราณและการทำตามอุดมคติปะปนกับการแสดงชีวิตจิตใจ  ภาพที่สำคัญในสมัยนี้จะเป็นภาพในวงกลมแสดงการนำบาตรหรือเกศาของพระพุทธเจ้าขึ้นไปสู่สวรรค์พระพุทธรูป
อมราวดีมักจะครองจีวรห่มเฉียง  จีวรเป็นริ้วทั้งองค์  และที่เบื้องล่างใกล้พระบาทมีขอบจีวรหนายกจากทางด้านขวาขึ้นมาพาดข้อพระหัตถ์ซ้าย
๕)  ศิลปะแบบคุปตะ  (Gupta)
ถือเป็นยุคทองศิลปะอินเดีย  ซึ่งลักษณะศิลปะแบบคุปตะและคุปตะนั้น  มีลักษณะสมัยใหม่ที่พัฒนาจากศิลปะแบบเก่า  มีความสมดุลได้สัดส่วน  มีความระเอียดอ่อนสวยงามที่เป็นธรรมชาติ  มีรูปร่างและเส้นเด่นชัด  ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นตัวของตนเองในทางสร้างสรรค์  ผลงานที่สร้างสรรค์  ผลงานที่สำคัญคือพระพุทธรูป  เช่น  สารนาถ  (Sarnath)  และมถุรา (Mathura) ภาพสลักนูนสูงที่ถ้ำเอลลูรา จิตรกรรมที่ถ้ำอชันตาเป็นภาพในพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ทั้งในด้านองค์ประกอบและความสมดุล พระพุทธรูปสมัยคุปตะมีชื่อเสียงแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่แสดงความอ่อนโยน ความเมตตากรุณาลักษณะที่สงบนิ่งสำรวม ศิลปะสมัยคุปตะจึงมีอิทธิพลศิลปะในสมัยหลังหลังๆสืบต่อมาอีกหลายศตวรรษ